วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2552

ตลาดเก่า ตลาดใหญ่ @ ที่นี่....ตะกั่วป่า

ถนนคนเดิน @ ตลาดเก่า-ตะกั่วป่า

ถนนสายวัฒนธรรมเมืองตะกั่วป่า เค้าตั้งชื่องานว่างั้น แต่บางอันมันก็สมัยใหม่เกินไป แต่ก็ดีนะ จะได้มีที่เที่ยวเพิ่มขึ้น และได้ระลึกความหลังเก่าสมัยเด็ก งานนี้จัดเป็นช่วงๆ ไม่มีตลอดทั้งปี เดือนเมษานี้ก็จะหมดแล้ว


เพราะหมดหน้า hi ของการท่องเที่ยว จะไปเริ่มอีกทีก็คงประมาณเดือนธันวาคมโน้นเลย

ตลาดเก่า เป็นบ้านเกิดของพ่อกับแม่ ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ที่ตลาดย่านยาว

เมื่อก่อนสมัยเด็กๆ การจะมาซื้อของที่นี้บ่อย แต่พอโตขึ้นตลาดเก่า ก็เริ่มเงียบไปตามกาลเวลาไม่รู้เพราะคนย้ายไปอยู่ตลาดย่านยาวกันเสียมากหรือเปล่า

ถนนเส้นนี้เมื่อก่อน พอถึงหน้าฝน ช่วงเดือนตุลา เวลาใกล้ทำบุญเดือนสิบ น้ำจะท่วมทุกปี แต่เดียวนี้ไม่ท่วมแล้ว คงเพราะมีการขุดคลองให้ลึกและกว้างขึ้น และถมถนนให้สู้ขึ้น

เมื่อก่อนพื้นถนนจะอยู่ต่ำกว่านี้มาก



หินโม่แป้งทำขนม ที่บ้านก็มีนะแต่ไม่ได้ใช้แล้ว



ที่ตำข้าวเปลือก



เครื่องสีข้าว



สภาพบ้านทรงเก่าๆ



รูปของร้านโก้เจมส์ ช่างภาพคนเก่งของตะกั่วป่า งานนี้มาออกร้านขายโพสเตอร์ที่ตัวเองถ่ายไว้

และทำเสื้อสกรีนขายด้วย



บรรยากาศโดยรวม



หน้าต่างแบบสมัยก่อน





บางสัก @ ตะกั่วป่า

บางสัก

คนตะกั่วป่าน้อยคน ที่จะไม่รู้จักหาดบางสัก เพราะหาดแห่งนี้เป็นสถานที่พักผ่อนที่สำคัญของคนที่นี้เลยทีเดียว ไปรู้ไปไหนก็ไปบางสัก ด้วยระยะทางที่ไม่ไกลจากตัวอำเภอตะกั่วป่า ประมาณ 13 กิโลก็ขับรถมาถึงแล้ว

หาดบางสัก สมัยเด็ก เคยมาพักแรมลูกเสือที่นี้ สนุกสนานมาก แต่พอนึกถึงสึนามิแล้วทำให้รู้สึกกลัวขึ้นมาทันที ถ้าตอนนั้น... ช่วงที่หลังจากเกินสึนามิ คนตะกั่วป่าแทบจะไม่มีใครกล้ามาหาดบางสักพักใหญ่เลย

แต่วันนี้หาดบางสักกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งแล้ว ผู้คนกลับมาเที่ยวกันเหมือนเดิม



เม็ดหรายที่นี้ละเอียด และนุ่มเท่า ขาวสะอาด




หาดบางสักจะเป็นเหมือนแอ่งกะทะ เวลาลงไปเล่นบางช่วงเหมือนจะเป็นก้นกระทะ ต้องระวัง แต่ส่วนใหญ่คนจะมาเล่นน้ำกันที่นี้ มากกว่าที่จะเล่นที่เขาหลัก

คลื่นจะแรงเป็นบางช่วง ยิ่งถ้ามาช่วงเที่ยงๆ แดดแรงนิดๆ จะเห็นทะเลเป็นสีฟ้าสีเขียว ใสสวยงามมาก




















ร้านค้าที่นี้ เป็นคนรุ่นหลังสึนามิ เพราะร้านที่อยู่ก่อนหน้า ถูกคลื่นซัดพังไปหมดแล้ว ร้านค้ายุคหลังๆ ขายของแพงเหลือเกิน มาบางสักที ถ้าเป็นไปได้ เอาของมาจากบ้าน
แล้วมาปูเสื่อล้อมวงกินกันเองดีกว่า ไม่ต้องนั่งที่ร้าน เลือกทำเลสวยๆ
ถูกใจเอาตามสบายเลย



ต้นสนพวกนี้ ยืนหยัดสู้กับคลื่นยักษ์สึนามิมาแล้ว






รอดูพระอาทิตย์ตกกัน แต่วันนี้เมฆบัง เลยไม่ได้อยู่ดู
กลับบ้าน หาไรกินดีกว่า

วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2552

อุทยานแห่งชาติเขาหลัก ลำรู่ @ ตะกั่วป่า Khao Lak

เขาหลัก Khao Lak


วันนี้ไปเที่ยวเขาหลักกัน เข้าไปเที่ยวในตัวอุทยานกัน ไม่ได้ไปนานแล้ว

ถ้าจำไม่ผิด
ล่าสุดที่เข้าไปในตัวอุทยานตั้งแต่ปี 2536 ตอนจบ ม.6 ใหม่ๆ

เพื่อนพากันมานอนพักกันที่นี้ เนื่องจากตอนนั้นพี่ชายเป็นหัวหน้าอุทยานอยู่

หลังจากนั้นก็ไม่ได้มาเที่ยวอีกเลย เขาหลักวันนี้เปลี่ยนไปมาก ตั้งแต่ก่อนสึนามิ

และหลังจากสึนามิ แต่ความสวยงามของชายหาด ของสมบูรณ์ของต้นไม้ในอุทยาน

ยังคงสภาพที่ดีอยู่ ก็ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี


เขาหลัก Khao Lak


เขาหลัก Khao Lak

เขาหลัก Khao Lak

เขาหลัก Khao Lak


ก่อนเข้าไปในอุทยานฯ ก็เสียค่าบำรุงอุทยานฯ ตามทำเนียบกันก่อน


แล้วขับรถเข้าไปจอดในอุทยานฯ จากนั้นก็เดินลงเขา ไปที่ชายหาดกันเลย


เขาหลัก Khao Lak


บ้านพักที่ให้บริการนักท่องเที่ยวของทางอุทยานฯ

เขาหลัก Khao Lak

เขาหลัก Khao Lak


เขาหลัก Khao Lak

เขาหลัก Khao Lak


ออกแรงเดินลงมาจนถึงด้านล่าง เป็นชายหาด มองดูแล้วสวยงาม

บรรยกาศก็ดี ลมเย็นสบาย บางครอบครัวพาลูกหลานมาเล่นน้ำกัน

บางครอบครัวก็นำอาหารมาตั้งวงกินกัน อย่างมีความสุข


เขาหลัก Khao Lak

เขาหลัก Khao Lak

เขาหลัก Khao Lak

เขาหลัก Khao Lak


คลื่นตรงบริเวณนี้ค่อนข้างแรง จึงไม่ค่อยมีใครมาเล่นน้ำ อีกทั้งในน้ำก็มีน้ำวน

ทำให้มีคนมาเสียชีวิตที่นี้บ้าง ส่วนใหญ่คนจะเล่นน้ำที่บางสักกันเสียมากกว่า


เขาหลัก Khao Lak

เขาหลัก Khao Lak

เขาหลัก Khao Lak

เขาหลัก Khao Lak

เขาหลัก Khao Lak

เขาหลัก Khao Lak


บ้านพักอีกสไตล์หนึ่งของทางอุทยานฯ


เขาหลัก Khao Lak

เขาหลัก Khao Lak

เขาหลัก Khao Lak



ทางเดินเชื่อมภายใน


เขาหลัก Khao Lak

เขาหลัก Khao Lak

เขาหลัก Khao Lak

เขาหลัก Khao Lak


จริงๆ แล้วเราต้องจอดรถริมถนน ก่อนนึกอุทยานฯ เพื่อถ่ายภาพกันก่อน

บริเวณนั้นเราจะมองเห็นทะเลสุดลูกหูลูกตา สวยงามมาก เนื่องจากเป็นจุดที่อยู่บนเขา

และจุดนี้ หากใครอยู่ตอนวันเกิดสึนามิ จะเห็นภาพคลื่นที่ซัดเข้าชายฝั่ง ด้านตัวเมือง

และรีสอร์ทต่างๆ ได้อย่างชัดเจนเลย แต่ไม่ได้ถ่ายวิวบริเวณนั้นมา ไว้คราวหน้าแล้วกัน


ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=47&lg=1